วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายของอินเทอร์เน็ต

                                        


อินเตอร์เน็ตและการใช้งาน


ความหมายและพัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
       ปัจจุบันบริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลากหลายรูปแบบ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การพูดคุยออนไลน์ (talk หรือ Chat) การซื้อขายสินค้าหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมความรู้ทุกด้าน ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของคนเรา ตั้งแต่การเรียน การทำงาน การซื้อสินค้า ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความรู้ของกลุ่มคนในสังคม
              
          



ความหมายของอินเทอร์เน็ต
      อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันโดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด


                                   



       อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

พัฒนาการอินเตอร์เน็ต
      ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค.ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียหายหรือถูกทำลาย 


                               

  1.) อินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ
         ปี ค.ศ. 1999 หน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA) ของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนงานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยในช่วงแรกรู้จักกันในนามของ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูง หรืออาร์พาเน็ต (arpanet) ซึ่งมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบันการศึกษา 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส มหาวิทยาสัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และสถาบันวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยมีคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายและมีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันแต่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้
          อาร์พาเน็ตแบ่งเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง และเครือข่ายของกองทัพ โดยในช่วงต้นเครือข่ายทั้งสองเป็นเครือข่ายหลักที่สำคัญในทวีปอเมริกาเหนือ ต่อมาหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมากเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต จึงมีการนำเครือข่ายของหน่วยงานเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต และทำให้เกิดการขยายเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1984 เครือข่ายนี้ถูดเรียกว่า อินเทอร์เน็ต (internet) และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
          ปัจจุบันเครือข่านอินเทอร์เน็ตถือเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าใช้ระบบเครือข่ายได้อย่างกว้างขวาง และได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายในลักษณะของ เครือข่ายอินทราเน็ต (intranet) และเครือข่ายเอ็กทราเน็ต (extranet) อีกด้วย

     

    2.) อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
       ปี พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยและสถาบันไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้าและเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว          
        - ปี พ.ศ. 2535 ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อม ต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกิดเป็นเครือข่ายที่เรียกว่าเครือข่ายไทยสาร โดยนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา           
        - ปี พ.ศ. 2536 ศูนย์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้เครือข่ายมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับเครือข่ายไทยสารอีกหลายแห่ง เครือข่ายไทยสารจึงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
        - ปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล ในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) ที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่างๆของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกันเป็นระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น