วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

ความชอบส่วนตัว

  


ที่มา    

      เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ทั่วทั้งโลกต่างฮือฮากับตุ๊กตาหุ่นยนต์ที่ชื่อว่า เฟอร์บี้ (Furby) เพราะเจ้าสัตว์เลี้ยงหุ่นยนต์ชนิดนี้ นอกจากขยับตากับปากได้แล้ว มันยังสามารถเต้นได้อีกด้วย ซึ่งในระยะหลังแม้ข่าวคราวของเจ้าตุ๊กตาเฟอร์บี้ดูจะเงียบหายบ้าง แต่ทางบริษัทผู้คิดค้นคงไม่ยอมปล่อยให้ผลงานชิ้นโบแดงนี้ตายไปจากตลาดของเล่นง่าย ๆ  ดังนั้นพวกเขาจึงทำการยกเครื่องเจ้าเฟอร์บี้ใหม่ให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น แต่ก่อนที่จะไปดูข้อมูลของเจ้าตุ๊กตาเฟอร์บี้ฉบับปรับปรุงใหม่นี้ ทีมงานกระปุกดอทคอมจะพาทุกคนไปรู้จักกับความเป็นมาของเจ้าสัตว์เลี้ยงหุ่นยนต์ชนิดนี้กันก่อนนะคะ  
 
         บริษัท Hasbro ซึ่งเป็นบริษัทผลิตของเล่นรายใหญ่ที่ผลิตของเล่นนานาชนิดส่งขายทั่วโลกได้สร้างความฮือฮาให้กับตลาดของเล่น เมื่อมีการเปิดตัวสัตว์เลี้ยงหุ่นยนต์เสมือนจริง คือ เจ้าเฟอร์บี้รุ่นแรก ในปี 2541 ซึ่งมันมีรูปร่างหน้าตาเหมือนนกฮูก ผสมกับหนูแฮมสเตอร์ มีความสูงประมาณ 5 นิ้ว และมีปฏิกิริยาตอบสนองเหมือนสัตว์เลี้ยงจริง ๆ  และนับว่าการเปิดตัว เฟอร์บี้ ก็ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม เมื่อสามารถสร้างประวัติศาสตร์ในวงการของเล่นด้วยการเป็นของเล่นที่มียอดจำหน่ายสูงสุดถึง 40 ล้านตัวทั่วโลก 

ที่ชื่นชอบจริงๆ

           FURBY Cotton Candy (Pink/Teal) เฟอร์บี้สีชมพูหูเขียวอมฟ้า

         


หน้าแรก

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติผู้จัดทำ



ชื่อ - สกุล   :  เด็กหญิงกุลภัทร   เปรมสุขใจ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/2  เลขที่ 14
e-mail       :  kunlaphat42@hotmail.com       
facebook   : Kunlaphat  Premsukjai  (https://www.facebook.com/kunlaphat42)  
โทรศัพท์     : 0836557300                                                                                                                                       



            

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต
       จากปัญหาการล่อลวงอินเกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นับวันจะยิ่งมีมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตรการป้องกันปัญหาและภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากคนที่ขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อทั้งตนเอง และสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงและรับมือกับความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึง บัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ซึ่งผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ ดังนี้

   
 1.   ต้องไม่ให้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร เป็นต้น   
 2.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง  
 3.   ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต   
 4.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร   
 5.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ   
 6.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต  
 7.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์   
 8.   ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง   
 9.   ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน   
 10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

       ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตทำให้การติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่าเมื่ออินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญมากขึ้นเท่าใด อินเทอร์เน็ตย่อมส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อสังคม ดังนี้     
5.1 ผลกระทบทางบวก   อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทางบวกต่อสังคม ดังนี้          
          1.   ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายขนาดใหญ่ กล่าวคือ ทำให้คนในสังคมติดต่อสื่อสารได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา          
          2.   ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านอีเมล การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย          
          3.   ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำให้เกิดการศึกษารูปแบบใหม่ที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้เกิดความสนุกในการเรียนรู้ อีกทั้งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ได้แก่ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (e-learning)
         อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทางลบต่อสังคม ดังนี้

          1.   ก่อให้เกิดความเครียดของคนในสังคม กล่าวคือ อินเทอร์เน็ตทำให้คนในสังคมเข้าถึงข้อมูลมากมายมหาศาล สภาพสังคมจึงเปลี่ยนเป็นสังคมฐานความรู้ หรือสังคมที่ใช้ความรู้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น จึงเกิดการแข่งขันด้านเศรษฐกิจกันอย่างรุนแรง ซึ่งการตัดสินใจในการทำงานต้องใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อให้ตัดสินใจได้ถูกต้อง ทำให้คนในสังคมเกิดความกดดันและเกิดความเครียดสูงขึ้น
         2.   เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นในสังคม เช่น การแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน การติดเกมประเภทความรุนแรง เป็นต้น
         3.   เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นโลกเสรีที่ให้ผู้คนสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ แต่การแสดงความคิดเห็นที่ไร้ขอบเขต ย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การนำข้อมูลส่วนบุคคลออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้อง การแสดงความคิดเห็นด้วยถ้วยคำที่รุนแรงต่อบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
         4.   อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ผู้ไม่หวังดีอาจใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด เช่น การล่อลวงผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตและก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในแง่มุมต่างๆ ทั้งภาพลามกอนาจาร การพนันออนไลน์  การจำหน่ายของผิดกฎหมาย การส่งไวรัสไปทำลายข้อมูลของผู้อื่น เป็นต้น



    5.2 ผลกระทบทางลบ


บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
        อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน กล่าวคือ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สามรถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้น จึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท
    4.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail หรือ e-mail)            เป็นบริการใช้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามรถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษรได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้นแนบไปได้อีกด้วย          การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการระบุที่อยู่ของผู้รับเช่นเดียวกับการระบุที่อยู่บนซองของการส่งไปรษณีย์ธรรมดาทั่วไป ซึ่งในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรส (e-mail Address)          สำหรับรูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ และชื่อเครื่องบริการ โดยใช้เครื่องหมาย @ (ออกเสียงว่า แอ็ท) คั่นระหว่างทั้งสองส่วนนี้ ตัวอย่างเช่น
         1) เว็บเมล (Web Mail) เป็นการบริการการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ โดยผู้ใช้สามารถสมัครลงทะเบียนในเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการได้ จากนั้นผู้ใช้จะได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสและรหัสผ่าน เพื่อขอเข้าใช้บริการผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งเว็บเมลส่วนใหญ่จะให้โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
         การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP) เป็นการโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งอาจอยู่ใกล้หรือไกลกัน ในการโอนย้ายข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้กำลังใช้งานอยู่และมีการเรียกใช้โปรแกรมสำหรับการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เรียกว่า เครื่องต้นทาง (Local host) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องลูกข่าย ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการติดต่อไปเพื่อโอนย้ายแฟ้มข้อมูลนั้นเรียกว่าเครื่องปลายทาง (remote host) โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย ซึ่งผู้ใช้งานโปรแกรมที่เครื่องต้นทางจะต้องระบุชื่อเครื่องหรือหมายเลขไอพีของเครื่องปลายทางที่ต้องการใช้บริการ

         2) put เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทาง (upload)
             1. การโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรแกรมโอนย้ายข้อมูล ทั้งที่เป็นแบบแจกฟรี (freeware) และแบบให้ทดลองใช้ก่อน (shareware) เช่น WS_FTP CuteFTP เป็นต้น
             2. โอนย้ายแฟ้มข้อมูลผ่าน Web Browser
         การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Internet forum) เป็นบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกันของผู้คนในสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ใช้เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม (social network) เทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข่าวสารมีหลากหลายรูปแบบ
         การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต มี 2 รูปแบบ ดังนี้
         1) การสนทนาเป็นกลุ่ม  เป็นการสนทนาโดยคู่สนทนาจะพิมพ์ข้อความไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความแสดงบนหน้าจอของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ร่วมสนทนา ซึ่งผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ เช่น www.sanook.com www.pantip.com เป็นต้น
                  1) เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมการค้นหา (search engine)เป็นเว็บไซต์ที่สามารถให้ผู้ใช้หาข้อมูลโดยการระบุคำสำคัญ เพื่อค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมการค้นหา ซึ่งข้อมูลจะครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่  เช่น www.google.com, www.bing.comwww.search.com เป็นต้น
         นอกจากบริการทั้ง 5 บริการดังกล่าวบนอินเทอร์เน็ตแล้ว ปัจจุบันยังมีบริการอื่นๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ดั้งนี้

         เมื่อผู้ใช้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไปรษณีย์จะถูกเก็บไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเมลเซิร์ฟเวอร์ (mail server) จนกระทั่งผู้รับมาเปิดอ่าน
รูปแบบการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน มีดังนี้







          2) พ๊อปเมล (POP Mail) เป็นบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้โปรแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโปรแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมพ๊อปเมลที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Outlook. Windows Mail, Netscape Mail เป็นต้น


    4.2 การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล
การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มีการทำ 2 ลักษณะ คือ
     1. get เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องปลายทางมายังเครื่องต้นทาง (download)

การบริการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มี 2 ลักษณะ ได้แก่
      4.3 การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น
      เช่น ยูสเน็ต (usenet)  บล็อก (blog) เป็นต้น


      1) ยูสเน็ต (usenet) เป็นบริการในลักษณะกลุ่มสนทนาที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิก (subscribe) กลุ่มหัวข้อใดที่ตนเองสนใจ และเมื่อเป็นสมาชิกแล้วก็จะสามารถเรียกดูข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มหัวข้อนั้นได้และยังสามารถขอความคิดเห็น หรือร่วมแสดงความคิดเห็น สอบถามปัญหา หรือตอบปัญหาของผู้อื่นที่ถามมาในกลุ่มหัวข้อนั้น ๆ ได้        
       2) บล็อก (blog) ย่อมาจากคำว่า เว็บบล็อก (webblog)  เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เขียนบนทึกเรื่องราว โดยเรียงลำดับตามเวลา เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสาร โดยจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้ส่วนบนสุดของเว็บไซต์หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ไดอารีออนไลน์ (diary online) ข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อก อาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน 



4.4     การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต



   
 2)   การสนทนาระหว่างผู้ใช้โดยตรง  เป็นการสนทนาโดยมีเซิร์ฟเวอร์บอกตำแหน่งของโปรแกรมสนทนา (instant messaging)  ของคู่สนทนา ทำให้ผู้ใช้สามารถสนทนากับผู้ใช้อื่นๆ ได้โดยตรง การสนทนาไก้ทั้งการพิมพ์ข้อความ การส่งภาพกราฟิก เสียง และภาพเคลื่อนไหว นอกจากนี้โปรแกรมยังมีฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ที่เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โปรแกรมสนทนาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ MSN Messenger, AOL Instant Messenger, Yahoo Messenger, Google Talk,  NET Messenger Service,  Jabber, ICQ และ Skype


    4.5 บริการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต





          2) เว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ (web directories)   เป็นเว็บไซต์ที่มีการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆ  ในอินเทอร์เน็ต โดยแต่ละเว็ปไซต์จะถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ที่เหมาะสม ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ เช่น www.sanook.com ,www.yahoo.com เป็นต้น



         
        การค้นหาข้อมูลด้วยเว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกเพราะสามารถเลือกค้นข้อมูลจากหมวดหมู่เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการมากที่สุด แต่หากเว็บไซต์มีการจัดแบ่งหมวดหมู่โดยไม่มีมาตรฐาน อาจทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนได้ง่าย



การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
    การเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กจะใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial-Up  Connection)  ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราวหรือเฉพาะบางเวลา ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ มีดังนี้

1. เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล
   

2. เว็บบราวเซอร์  เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจาเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language)  และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูลที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้
    

3. หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์  สำหรับเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์เพียง 3 บาทต่อครั้งของการเชื่อมต่อ
    

4. โมเด็ม  เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อก (analog) และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล
    

5. บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)  ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกขอเป็นสมาชิกเป็นรายเดือน รายปี หรืออาจเป็นการซื้อชุดอินเทอร์เน็ตแบบสำเร็จรูป โดยคิดค่าใช้บริการเป็นหน่วยชั่วโมง บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท  โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที ล็อกอินโฟ  3BB เป็นต้น
   

การทำงานของอินเทอร์เน็ต

การทำงานของอินเทอร์เน็ต
         เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้นั้น จะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันหรือใช้กฎและข้อตกลงเดียวกัน ซึ่งก็คือ โพรโทคอล (protocol) ในการควบคุมรูปแบบข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โพโทคอลที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต เรียกว่าทรานมิสชันคอนโทรไปรโทคอล/อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) หรือมีชื่อย่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)


                                                          
       อินเทอร์เน็ตสามารถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานปลายทางได้มากยิ่งหนึ่งเส้นทาง ซึ่งหากเส้นทางบางเส้นทางได้รับความเสียหายระบบเครือข่ายก็ยังคงสื่อสารกันได้ โดยเส้นทางที่เหลือที่เหลือเส้นทางอื่น ซึ่งการส่งข้อมูลดังกล่าวจะใช้หลักการของเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet-Switching Network)  กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆ หรือแพ็กเก็ต และส่งไปยังปลายทางดโดยใช้เส้นทางต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับปลายทางที่กำหนด โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องเพื่อให้คอมพิวเตอร์อื่นๆ อ้างอิงถึงได้ เช่นเดียวกับการโทรศัพท์จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของเครื่องต้นทางและเครื่องปลายทางหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่าหมายเลขไอพี (IP Address) ซึ่งเป็นหมายเลขชุดหนึ่งมีขนาด 32 บิด หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 เช่น 205.42.117.104 โดยหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไมซ้ำกัน และเนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากอยู่ในเครือข่าย ก็จะทำให้สับสนได้ง่าย จึงได้เกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพี เพื่อช่วยในการจดจำเรียกว่า ดีเอ็นเอส (DNS: Domain Name Server) ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อ และโดเมน 
โดเมนมีมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงานและประเทศต่างๆ  ดังนี้
      1. โดเมนระดับบนสุด  จะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่

                   

           
ทั้งนี้ในกรณีที่เป็นโดเมนระดับบนสุดที่บ่งบอกประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่นั้น จะต้องมีโดเมนระดับย่อย เพื่อระบุประเภทขององค์กร
2. โดเมนระดับย่อย ใช้ในประเทศ ซึ่งจะบอกถึงประเภทองค์กร


วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายของอินเทอร์เน็ต

                                        


อินเตอร์เน็ตและการใช้งาน


ความหมายและพัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
       ปัจจุบันบริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลากหลายรูปแบบ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การพูดคุยออนไลน์ (talk หรือ Chat) การซื้อขายสินค้าหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมความรู้ทุกด้าน ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของคนเรา ตั้งแต่การเรียน การทำงาน การซื้อสินค้า ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความรู้ของกลุ่มคนในสังคม
              
          



ความหมายของอินเทอร์เน็ต
      อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันโดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด


                                   



       อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

พัฒนาการอินเตอร์เน็ต
      ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค.ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียหายหรือถูกทำลาย 


                               

  1.) อินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ
         ปี ค.ศ. 1999 หน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA) ของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนงานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยในช่วงแรกรู้จักกันในนามของ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูง หรืออาร์พาเน็ต (arpanet) ซึ่งมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบันการศึกษา 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส มหาวิทยาสัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และสถาบันวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยมีคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายและมีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันแต่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้
          อาร์พาเน็ตแบ่งเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง และเครือข่ายของกองทัพ โดยในช่วงต้นเครือข่ายทั้งสองเป็นเครือข่ายหลักที่สำคัญในทวีปอเมริกาเหนือ ต่อมาหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมากเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต จึงมีการนำเครือข่ายของหน่วยงานเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต และทำให้เกิดการขยายเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1984 เครือข่ายนี้ถูดเรียกว่า อินเทอร์เน็ต (internet) และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
          ปัจจุบันเครือข่านอินเทอร์เน็ตถือเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าใช้ระบบเครือข่ายได้อย่างกว้างขวาง และได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายในลักษณะของ เครือข่ายอินทราเน็ต (intranet) และเครือข่ายเอ็กทราเน็ต (extranet) อีกด้วย

     

    2.) อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
       ปี พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยและสถาบันไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้าและเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว          
        - ปี พ.ศ. 2535 ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อม ต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกิดเป็นเครือข่ายที่เรียกว่าเครือข่ายไทยสาร โดยนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา           
        - ปี พ.ศ. 2536 ศูนย์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้เครือข่ายมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับเครือข่ายไทยสารอีกหลายแห่ง เครือข่ายไทยสารจึงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
        - ปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล ในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) ที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่างๆของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกันเป็นระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้